คลังความรู้
ความรู้เกี่ยวกับถังเก็บน้ำมัน (Storage Tanks )
26 กันยายน 2556
กฎกระทรวง สถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ ๕๖ ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
- (๑) ตัวถังต้องทำด้วยเหล็กที่มีความเค้นคราก (yield stress) ไม่น้อยกว่า ๑.๕ เท่าของความเค้นที่เกิดขึ้น (allowable stress) เนื่อง จากความดันใช้งานสูงสุดของน้ำมันเชื้อเพลิงในถัง หรือทำด้วยวัสดุอื่นที่มีมาตรฐานเทียบเท่าตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา
(๒) เหล็กและเหล็กโครงสร้างที่นำมาใช้สร้างถังต้องได้รับการรับรองว่าได้มาตรฐานสากล -
(๓) แผ่นเหล็กผนังถังต้องมีค่าความเค้นที่เกิดขึ้น (allowable stress) ไม่น้อยกว่า 145 N/mm2 ความเค้นคราก (yield stress) ไม่น้อยกว่า 206 N/mm2 และมีค่าความยืด (elongation) ไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบสอง -
(๔) ค่าความถ่วงจำเพาะของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ในการออกแบบ ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่ง แต่ถ้าค่าความถ่วงจำเพาะมากกว่าหนึ่งจะต้องใช้ค่าความถ่วงจำเพาะที่แท้จริง ในการคำนวณออกแบบ -
(๕) ต้องติดตั้งอุปกรณ์วัดความดันหรือสุญญากาศในตำแหน่งที่สามารถมองเห็นได้ง่าย -
(๖) ต้องติดตั้งอุปกรณ์เตือนภัยในระยะห่างไม่น้อยกว่า ๐.๒๐ เมตร จากระดับสูงสุดของผนังถัง
ข้อ ๕๗ ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงขนาดใหญ่ต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
- (๑) ฐานรองรับถังต้องมีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอที่จะรับน้ำหนักของตัวถังและ น้ำหนักบรรทุกในอัตราสูงสุดรวมทั้งน้ำหนักอื่น ๆ ที่กระทำต่อตัวถังนั้นได้โดยปลอดภัย
(๒) ถังที่มีปริมาณความจุตั้งแต่ ๑๐๐,๐๐๐ ลิตรขึ้นไป ต้องแสดงผลสำรวจคุณสมบัติของดินในบริเวณที่ก่อสร้างถังไม่น้อยกว่าหนึ่งจุด เพื่อประกอบการคำนวณความมั่นคงแข็งแรงของฐานรากรองรับถัง
(๓) ต้องแสดงข้อมูลทางวิศวกรรมให้สามารถตรวจสอบได้ว่าจะไม่เกิดความเสียหายต่อ ถังในกรณีที่มีการรับหรือจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าหรือออกจากถัง หรือมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิภายในถัง
(๔) ท่อระบายอากาศของถังต้องออกแบบให้มีความดันไม่เกิน ๗.๕ มิลลิบาร์ และความดันสุญญากาศไม่เกิน ๒.๕ มิลลิบาร์
ข้อ ๕๘ ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเหนือพื้นดินขนาดใหญ่
ต้องระบุประเภทหรือชนิดของ ผลิตภัณฑ์ของน้ำมันเชื้อเพลิงและปริมาณความจุของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้รับ อนุญาต มีขนาดที่เห็นได้ชัดเจนและอ่านได้ง่ายในระยะ ๒๕.๐๐ เมตร ไว้ด้านข้างของผนังถังด้านนอกอย่างน้อยหนึ่งด้าน
ข้อ ๕๙ ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเหนือพื้นดินขนาดใหญ่ตามแนวตั้งต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
- (๑) ผนังถังต้องทำด้วยเหล็กที่มีความหนาตามค่าที่ได้จากการคำนวณออกแบบให้รับ น้ำหนักบรรทุกสูงสุดบวกด้วยค่าการกัดกร่อน และต้องไม่น้อยกว่าความหนาต่ำสุดตามที่กำหนดไว้ในตารางที่ ๑๓
ตารางที่ ๑๓ ความหนาต่ำสุดของเหล็กผนังถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเหนือพื้นดินขนาดใหญ่ตามแนวตั้ง
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของถัง (เมตร) ความหนาต่ำสุด น้อยกว่า ๑๕.๐๐
๑๕.๐๐ - ๓๖.๐๐๕.๐๐ มิลลิเมตร
(๓ ส่วน ๑๖ นิ้ว)
๖.๐๐ มิลลิเมตร
(๑ ส่วน ๔ นิ้ว)
- (๒) การเชื่อมแผ่นเหล็กผนังถังต้องเชื่อมให้มีความมั่นคงแข็งแรงและปลอดภัย การเชื่อมต่อท่อต่าง ๆ เข้ากับผนังถัง หากเป็นท่อที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเกิน ๒ นิ้ว ผนังของถังจะต้องมีการเสริมความแข็งแรงที่หน้าตัดของเหล็กเสริมแรงนั้น ซึ่งจะต้องมีความหนาไม่น้อยกว่าความหนาของผนังถังและต้องมีพื้นที่ไม่น้อย กว่า ๒ เท่าของพื้นที่ช่องท่อ
- (๓) แผ่นเหล็กพื้นถังต้องมีความหนาไม่น้อยกว่า ๖.๐๐ มิลลิเมตร สำหรับถังที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเกิน ๑๒.๕๐ เมตร จะต้องมีแผ่นเหล็กวงแหวนที่มีความหนาไม่น้อยกว่า ๖.๐๐ มิลลิเมตรรองใต้แผ่นเหล็กพื้นถัง
- (๔) การเชื่อมแผ่นเหล็กหลังคาของถังชนิดหลังคาติดตาย (fixed roof) หรือชนิดหลังคาลอยภายใน (internal floating roof) ให้ มีการเชื่อมต่อกันแบบเกยทับและมีรอยเชื่อมด้านบนเพียงด้านเดียวแผ่นหลังคา ส่วนที่เชื่อมต่อกับผนังถังให้มีรอยเชื่อมด้านบนเพียงด้านเดียว
- (๕) ถังที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน ๒๕.๐๐ เมตร ต้องมีช่องทางเข้าออกอย่างน้อยสองช่องที่บริเวณผนังถังและหลังคาถัง ถังที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเกิน ๒๕.๐๐ เมตร ต้องมีช่องทางเข้าออกอย่างน้อยสามช่องที่บริเวณผนังถังสองช่อง และบริเวณหลังคาถังหนึ่งช่อง โดยตำแหน่งของช่องทางเข้าออกต้องวางในตำแหน่งตรงกันข้าม ขนาดของช่องทางเข้าออกต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า ๐.๔๐ เมตร